ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 15,270

ถ้ำรับร่อ

ถ้ำรับร่อ

ถ้ำรับร่อ (วัดเทพเจริญ) บริเวณวัดมีถ้ำต่างๆ ทั้งหมด 8 ถ้ำ เป็นถ้ำที่ตั้งบนเนินเขา กล่าวกันว่ามีปริศนาลายแทงขุมทรัพย์อยู่ในถ้ำถึง 2 แห่ง คือ ถ้ำต้นทาง (ชื่อถ้ำเอเต) และถ้ำตอนที่ลึกเข้าไปอีก ซึ่งมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยคือพระปู่หลักเมือง ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3.5 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในราวปี พ.ศ. 548

โดยมีประวัติเล่าว่าสร้างครั้งเมื่อสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์อินเดีย ซึ่งแล่นเรือออกแสวงหาที่ประดิษฐาน พระพุทธศาสนาในทุกหนทุกแห่ง และเมื่อพบที่ตั้งวัดรับร่อซึ่งมีถ้ำสวยงาม จึงบัญชาให้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ภายในถ้ำ


กราบสักการะไหว้พระหน้าทางขึ้นถ้ำ


พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ถ้ำรับร่อ



จุดกราบไหว้บูชาในศาลาหลวงปู่ไสย์(พระเกจิชื่อดัง แห่งวัดเทพเจริญ) ก่อนเที่ยวถ้ำ


บูชาสรีระหลวงปู่ไสย์ มรณะภาพแล้วร่างกายไม่เน่าเปื่อย



สรีระหลวงปุ่ไสย์


ศาลาราษฎร์สามัคคีเป็นที่ตั้งสังขารของหลวงปู่ไสย์


ด้านหน้าปากถ้ำรับร่อ



มีพระพุทธรูปให้กราบบูชาเยอะ



พระพุทธรูปในถ้ำรับร่อ



ปากถ้ำรับร่อ ทางเข้าหลัก



มีพระพุทธรูปองค์น้อยใหญ่


ใจกลางถ้ำ เป็นเหมือนห้องโถงใหญ่ มีลมพัดผ่านมาตลอด



ถ้ำไทร
ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมาของคนในหมู่บ้าน
ประวัติถ้ำไทร เดิมถ้ำนี้เป็นที่สำนักของเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ครั้งสมัย สร้างพระหลักเมือง แต่ภายหลังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ไสย สิริสุวัฒโณ ด้านหน้ามีแอ่งหินเป็นชั้นๆ โดยชั้นสูงสุด มีบ่อน้ำเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีน้ำขึงตลอดทั้งปี ครั้งเมื่อสร้างวัดขึ้นใหม่ๆ ถ้ำนี้ให้เป็นสำนักจำพรรษาของพระสงฆ์ แต่เดิมมีต้นไทรใหญ่อยู่ปากถ้ำ อากาศภายในถ้ำจึงเย็นสบาย และถ่ายเทได้ตลอดเวลา ชาวบ้านจึงเรียกถ้ำนี้ว่า "ถ้ำไทร"


ปากถ้ำไทร


หินงอกหินย้อยภายในถ้ำไทร


ถ้ำไทร บริเวณปากถ้ำทางวัดฯ ทำสะพานทางเดินให้นักท่องเที่ยวเดินชมได้สะดวกขึ้น


หินงอกหินย้อยสวยงามมาก



สะพานไม้โครงเหล็ก เดินเที่ยวได้สะดวก


ปากถ้ำไทร

ถ้ำรับร่อ
มุมมองจากปากถ้ำไทร เพดานถ้ำสูงกว่าถ้ำอื่นๆ อากาศถ่ายเทดีมาก


ถ้ำรับร่อ



พระพุทธรูปในถ้ำรับร่อ

ปากถ้ำทางเดินชมภายใน



ถ้ำรับร่อ



องค์พระพุทธรูป อีกมุมหนึ่งในถ้ำรับร่อ



ตอนนี้พามีอีกถ้แล้ครับ นี้คือ ถ้ำอ้ายเตย์ เชื่อมต่อทางเดินรอบนอก มาจากถ้ำไทรอีกที



ถ้ำอ้ายเตย์



ภาพวาดเขียนสีพระพุทธไสยาสน์ ที่ถ้ำอ้ายเตย์ เอกลักษณ์เบอร์ 1 ของถ้ำอ้ายเตย์


พระพุทธไสยาสน์ ภาพวาด ที่ถ้ำอ้ายเตย์



หินงอกหินย้อยสีเขียว



หินงอกหินย้อยเป็นม่านกั้นเป็นห้อง



สวยสมคำล่ำลือ



ถ้ำอ้ายเตย์ เพดานถ้ำไม่สูงเหมือนถ้ำไทร แต่มีทางเดินเชื่อมและแซมด้วยหินงอกหินย้อย


ถ้ำรับร่อ มีขนาดที่ใหญ่มากเดินแทบไม่ทั่ว



ทางเดินสบายไม่รำบากมาก มีอิญบอล็คเรียงเป็นทางเดิน พื้นถ้ำจะราบเรียบกว่าถ้ำอื่นๆ ผู้สูงอายุเดินได้สะดวกหน่อย



แต่ละถ้ำจะมีจุดเชื่อมต่อๆกัน

ค่าธรรมเนียม

ไม่มี

การเดินทาง

ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าข้าม จากสี่แยกปฐมพรไปประมาณ 23 กิโลเมตร แยกซ้ายไปตามเส้นทางสาย 3181 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงที่ว่าการอำเภอท่าแซะจากนั้นไปทางทิศตะวันตกอีก 15 กิโลเมตร เป็นทางดินลูกรังผ่านหมู่บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้ามไปยังวัดเทพเจริญ หรือวัดถ้ำรับร่อ

ฤดูกาลท่องเที่ยว

เที่ยวได้ตลอดทั้งปี

ที่เที่ยวแนะนำ