ที่เที่ยว

  • ข้อมูล
  • แผนที่
  • Street View
เพิ่มรูป แก้ไข View : 5,373

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง

ตั้งอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์วีรสตรีประมาณ 50 เมตร ตัวอาคารได้รับการออกแบบ ให้มีรูปทรง เป็นบ้านท้องถิ่นของชาวภูเก็ต มี 2 หลัง อาคารหลังแรกจัดแสดงเรื่อง ก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเล ตะวันตก สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมื่ออารยธรรมอินเดียเผยแพร่เข้ามาประวัติและวิธีการทำเหมืองแร่ดีบุก และสวนยางพารา ศิลปะพื้นบ้านและชาติพันธุ์วิทยาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู สำหรับอาคารหลังที่สองจัดแสดงฉากและเรื่องราวของศึกถลาง ชีวิตความเป็น อยู่และประเพณีที่น่าสน ใจของชาวจีนในภูเก็ต และเรื่องราวความเป็น มาและถิ่นอาศัยของชาวเลในภูเก็ต

ประวัติและความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ถลาง
พิพิภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ประชาชนในท้องถิ่นร่วมใจกันจัดสร้างขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมโบราณวัตถุและวัตถุอันมีค่าต่าง ๆ นำมาจัดแสดงให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ต เป็นศูนย์รวมทางการศึกษาและข้อมูลทางการศึกษาและข้อมูลทางวิชาการของพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก รวมไปจนถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และสนับสนุนกิจการด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต และขอให้กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นผู้ร่างโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว โดยขอให้ดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ทันงาน "ฉลอง 200 ปี วีรสตรีเมืองถลาง" ใน พ.ศ.2528 สร้างบนเนื้อที่ 13 ไร่ เป็นที่ของวัดโคกยางซึ่งได้ร้างไป
ตัวอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้ดัดแปลงรูปทรงแบบบ้านพื้นถิ่นมาเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าในแง่ของการอนุรักษ์บ้านแบบโบราณเป็นอย่างดี การดำเนินการก่อสร้างและจัดแสดงโบราณวัตถุได้แล้วเสร็จและเปิดให้ประชาชนเข้าชมในระยะแรก ปี พ.ศ. 2530 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทางประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2532

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สังกัดสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 12 ภูเก็ต กรมศิลปากร

โบราณวัตถุที่สำคัญ
1. พระนารายณ์
ขนาด สูง 235 ซม.
ชนิด ศิลา
แบบศิลปะ ปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 14
พบที่ บริเวณเขาพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอปะกง จังหวัดพังงา

2. เศียรนางภูเทวี
ขนาด สูง 41 ซม.
ชนิด หินชนวน
แบบศิลปะ ปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12 - 14

3. ภาชนะดินเผาและเครื่องประดับ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
พบที่ถ้ำหลังโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และควนลูกปัด ตำบลคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

 

การจัดแสดง
ได้เน้นหนักถึงเนื้อหาด้านวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยา ของกลุ่มชนชาวภูเก็ต และจังหวัดชายทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทย วัตถุประสงค์หลัก เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานวีรกรรมของท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร ในการสงครามกับพม่า เมื่อ พ.ศ. 328 เสริมสร้างให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำท้องถิ่น มีส่วนรับใช้สังคม เป็นการแสดงเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชน ผู้อาศัยในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง มีรายละเอียดดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แสดงความเป็นอยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตลอดคาบสมุทรไทย-มลายู และดินแดนใกล้เคียง โบราณวัตถุที่ขุดพบบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกภาคใต้ของไทย เทวรูปจากตำบลเหล ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
2. จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ โดยศึกษาจากจดหมายเหตุของ ชาวต่างประเทศ การจัดแสดงประกอบด้วย โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ แผนที่ ภาพวาด และรูปจำลองโบราณสถาน เส้นทางเดินเรือ ทิศทางลม ท่าจอดเรือและแหล่งชุมชนโบราณของดินแดนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกแถบภาคใต้ของประเทศไทย เช่นกลุ่มชนซาไก

เวลาทำการ

เปิด วันพุธ - วันอาทิตย์ 9.00 - 16.00 น.

ปิด วันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ค่าธรรมเนียมเข้าชม

ชาวไทย 10 บาท/ชาวต่างประเทศ 30 บาท

ติดต่อสอบถามรายละเอียดติดต่อ     โทร. 0 7631 1426, 0 7631 1025

 

ที่เที่ยวแนะนำ